วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่1

1) คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง พร้อมรูป
ตอบ คอมพิวเตอร์มี 5 ประเภท ได้แก่
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Supercomputer )



เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความเร็วในการทำงานและมีประสิทธิภาพสูง นิยมใช้งานในการคำนวณที่ซับซ้อน เช่น ในห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการบิน หรืองานกราฟฟิกที่ซับซ้อน อย่างในการสร้างภาพยนต์เรื่องไดโนเสาร์ เป็นต้น


2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)


เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงมากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์บางแห่งมีสถานีงานอ(workstation) หรือเครื่องหมายปลายทาง (Terminal) มากกว่า 100 แห่ง มักใช้กับกิจการขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเบิกจ่ายเงินเอทีเอ็ม (ATM = Automatic Teller Machine) สายการบิน ในการบันทึกการบิน การสำรองที่นั่ง เป็นต้น


3.มินิคอมพิวเตอร์ (Minicompute)



มีความสามารในการทำงานสูงกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกิจการขนาดย่อม เช่น โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น


4.เวิร์กสเตชัน (workstation)


เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้ส่วนบุคคล แต่เร็วและมีความสามารถมากกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีแนวโน้มการใช้สำหรับธุรกิจและวิชาชีพ เวิร์กสเตชัน และการประยุกต์ออกแบบ สำหรับการใช้โดยบริษัทขนาดเล็กด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม, การออกแบบกราฟฟิก หรือส่วนบุคคลที่ต้องการไมโครโพรเซสเซอร์ที่เร็วกว่า มีขนาด RAM มาก และส่วนพิเศษอื่น ๆ เช่น graphics adapter ความเร็วสูง, ที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้น พร้อมกับระบบปฏิบัติการ UNIX และผู้ผลิตเครื่องเวิร์กสเตชันชั้นนำ ได้แก่ Sun Microsystems, Hewlett-Packard, DEC และ IBM


5.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)








บางครั้งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC= Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ หรือพีซีขนาดเล็ก ปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมากสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็พีดีเอ หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (ภาษาอังกฤษ: PDA ย่อมาจาก Personal digital assistants) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพานำติดตัวได้ เริ่มพัฒนามาจากเครื่องออกาไนเซอร์มาก่อน ซึ่งพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิลมักถูกเรียกว่าพ็อคเกตพีซี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
ปาล์ม (Palm)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เปิดตลาดมาก่อน แต่ก่อนนั้นใช้งานสำหรับเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ เช่น การนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันพัฒนาคุณภาพมากขึ้นจนมีระบบปฏิบัติการของตัวเองเรียกว่า Palm Os
พ็อกเก็ตพีซี(Pocket PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกได้ดีเช่นเดียวกับ ปาล์ม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะผลิตจากบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านคอมพิวเตอร์ แตกต่างจากปาล์มที่จะอิงค่ายไมโครซอฟท์เป็นหลัก แต่กินกำลังเครื่องมากกว่าปาล์ม วและมีหน่วย ความจำสูงไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเกือบกล่าวได้ว่ามีความสามารถเท่าหรือมากกว่า เมนเฟรมเมื่อ 20 ปีก่อน

พีดีเอ หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (ภาษาอังกฤษ: PDA ย่อมาจาก Personal digital assistants)


เป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพานำติดตัวได้ เริ่มพัฒนามาจากเครื่องออกาไนเซอร์มาก่อน ซึ่งพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิลมักถูกเรียกว่าพ็อคเกตพีซี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
ปาล์ม (Palm)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เปิดตลาดมาก่อน แต่ก่อนนั้นใช้งานสำหรับเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ เช่น การนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันพัฒนาคุณภาพมากขึ้นจนมีระบบปฏิบัติการของตัวเองเรียกว่า Palm Os
พ็อกเก็ตพีซี(Pocket PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกได้ดีเช่นเดียวกับ ปาล์ม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะผลิตจากบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านคอมพิวเตอร์ แตกต่างจากปาล์มที่จะอิงค่ายไมโครซอฟท์เป็นหลัก แต่กินกำลังเครื่องมากกว่าปาล์ม

คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network computers)





เป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากไมโครคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวคอมพิวเตอร์อินเตอร์เนต คอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือที่นิยมเรียกว่า NC จะถูกออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมาก ๆ ในองค์กรขนาดใหญ่ รวมทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต
คอมพิวเตอร์เครือข่ายจะไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ในตัว การจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมตะอยู่เครื่องศูนย์กลาง (Server) ซึ่งมีข้อดีคือการเปลี่ยนรุ่น (upgrade) ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ง่าย สามารถทำงานจากเครื่องคอมพิวตอร์เครือข่ายเครื่องใดก็ได้ รวมทั้งง่ายต่อการดูแลรักษา (mailtenance) ของผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์




2) คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embeddded computer) คีออะไร พร้อมรูป







ตอบ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม เป็นต้น














3) ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบที่ได้มาจากแหล่งต่าง ส่วนสารสนเทศ คือสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลไปผ่านการประมวลผลแบบใดแบบหนึ่ง



4) VLSI คืออะไร สำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร




ตอบ ยุคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 1 (1945 - 1958) -ใช้หลอดสูญญากาศ ความต้านทาน Capacitor และ สวิทช์ ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์ใช้คำนวณค่าในตารางการยิงปืนใหญ่ ใช้ภาษาเครื่องจักร ใช้กำลังไฟฟ้ามาก ยุคที่ 2 (1958 - 1964) - ใช้ Transistor เป็นวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้ภาษาระดับสูง มีการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบFloating point ยุคที่ 3 (1964 - 1974) -เริ่มใช้วงจรรวม ( Integrated circuit) มีหน่วยความจำเป็นแบบ Semi conductor ขนาดของคอมพิวเตอร ์จึงมีขนาดเล็กลง ยุคที่ 4 (1974 - ปัจจุบัน) - ใช้เทคโนโลยี VLSI ประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ในยุคนี้ขนาดของคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลงมาก ยุคที่ 5 (ปัจจุบัน - ????) - VLSI,ULSI ,Parallel System , Intelligence คาดว่าในยุคนี้จะเป็นยุคของปัญญาประดิษฐ์ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบขนานกันไป มีความเร็วในการประมวลผลสูงมาก
ยุคที่ 5 VLSI
ความหมายย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มาก ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra largscaleintegraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง)จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม
นอกจากการพัฒนาในระบบฮาร์ดแวร์แล้ว ในยุคนี้ ยังมีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปของกราฟิกที่เรียกว่าจียูไอ (Graphic User Interface : GUI) แทนการติดต่อแบบรายคำสั่ง (command line interface)ที่เป็นการพิมพ์คำสั่งทีละคำสั่งเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงานเช่นในอดีต ปัจจุบันเริ่มมีการใช้เมาส์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ และยังมีการพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จช่วยงานจำนวนมาก ทั้งที่เป็นงานสำนักงานทั่วไปและงานเฉพาะทาง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็จะมีการติดต่อกับผู้ใช้แบบจียูไอ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การใช้งานคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในยุคนี้

5) นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในชีวีตประจำวันอะไรบ้าง

ตอบ 1.ใช้ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างที่อยากทราบ

2.ใช้ในการเรียนและการทำงาน

3.ในด้านความบันเทิง

ที่มา http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm
http://www.pil.in.th/Upload/images/Contents/Content268/02/library/hardware/index2.htm#micro

ไม่มีความคิดเห็น: